top of page

RBA ระบบตรวจสอบภาษี ใหม่ล่าสุดของสรรพากรยุค 4.0
วารสาร K SME Inspired March 2018

วารสาร K SME Inspired ฉบับ มีนาคม 2561

RBA ระบบตรวจสอบภาษี ใหม่ล่าสุดของสรรพากรยุค 4.0

ศิริรัฐโชติเวชการ

 

ความน่าสนใจ

• ในการทําธุรกิจ สิ่งที่เจ้าของธุรกิจ กลัวที่สุดคือ การมาเยือนของเจ้าหน้าที่ สรรพากร

• ที่ผ่านมาการที่เจ้าหน้าที่สรรพากร จะเข้าไปตรวจสอบกิจการใดนั้น ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ของทีมภาษีที่ดูแลกิจการนั้นอยู่ แต่ในบางครั้งเราก็ได้ยินเสียงบ่นเล็ดลอด

ออกมาว่า การวิเคราะห์แล้วคัดเลือกแบบนั้น บางครั้งก็สามารถเลือกที่รักมักที่ชังได้

• ดังนั้น กรมสรรพากรยุค 4.0 จึงมี การพัฒนาระบบตรวจสอบขึ้นมาใหม่โดยใช้ ข้อมูล IT ในการวิเคราะห์ ซึ่งระบบนี้เรียกว่า RBA (Risk Based Audit System) เป็นระบบ ที่มุ่งเน้นการจัดเก็บภาษีหรือตรวจสอบภาษี โดยมีความชอบธรรมเป็นพื้นฐานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศของประเทศไทยในส่วนของหน่วยงานราชการ

ทางกรมสรรพากรได้พัฒนาระบบให้เป็นธรรมโปร่งใสมากขึ้น ในการที่จะไปตรวจผู้ประกอบการ โดยจะมีวิธีการนําข้อมูลจากภายใน ภายนอก จากการวิเคราะห์งบเปรียบเทียบต่างๆ ข้อมูลที่สรรพากร มีทั้งหมดมาอยู่ในระบบ IT และสรรพากรไม่ได้คัดเลือกโดยคนเหมือนในอดีต แต่จะใช้คอมพิวเตอร์ โดยนํารายชื่อผู้ประกอบการที่สรรพากร เลือกมาเปรียบเทียบกับข้อมูลในระบบ ถ้าไม่ถูก ไม่ตรงกัน ก็จะตัด ชื่อออก และทางสรรพากรจะแจ้งให้ผู้ประกอบการทราบว่า จากการ วิเคราะห์พบความเสี่ยงอะไรบ้าง แล้วแนะนําให้แก้ไข และปิดความเสี่ยงที่ละตัวจนหมด

 

ภาพรวมการแนะนําและตรวจสอบภาษีอากร แบ่งผู้ประกอบการ เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

• นิติบุคคล | • บุคคลธรรมดารายใหญ่

ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะทําการตรวจสอบหรือจะเข้าไปแนะนําด้านภาษี สิ่งสําคัญที่สุดคือ ต้องทําการวิเคราะห์ข้อมูลแบบแสดงรายการ ภาษีก่อน เมื่อทําการวิเคราะห์ข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วหน่วยปฏิบัติ จึงจะทําหน้าที่เลือกใช้เครื่องมือในการปฏิบัติการตรวจสอบ เครื่องมือที่ใช้สําหรับนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่เป็นรายใหญ่ในปัจจุบันนั้น มี 4 เครื่องมือหลัก ได้แก่

• การแนะนําด้านการตรวจสอบภาษีอากร เป็นเครื่องมือที่จะเข้าไปแนะนําให้ความรู้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งการจัดเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นการมุ่งที่จะให้ความรู้เพื่อการจัดทําบัญชีที่ถูกต้อง เพื่อสร้างรากฐาน จัดทําภาษีที่ถูกต้องและยั่งยืนในอนาคต

• การวิเคราะห์และตรวจสอบแบบแสดงรายการภาษี เครื่องมือจะค่อยๆ เพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นไปเรื่อยๆ

• การตรวจปฏิบัติการ เช่น เข้าไปขอตรวจนับสินค้าคงเหลือว่ามีปริมาณตรงกับตัวเลขที่แสดงในบัญชีหรือไม่ ถ้านับของจริงแล้วมีน้อยกว่าในบัญชี ถือว่ามีการขายแต่ไม่ได้ลงบัญชี จะต้องเสียภาษีและเบี้ยปรับย้อนหลัง กันเลยทีเดียว

• การออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากร ที่อยู่ในระดับขั้นรุนแรง ใช้ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ให้ความร่วมมือหรือผู้ประกอบการยังปฏิบัติภาษีที่ไม่ถูกต้องและไม่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง

 

การที่เจ้าหน้าที่จะเลือกใช้เครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่งขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนที่จะออกไปพบผู้ประกอบการ เครื่องมือนั้นไม่จําเป็นต้องเริ่มจากเครื่องมือการแนะนําเสมอไป ถ้าเจ้าหน้าที่ตรวจพบผู้ประกอบการที่ยังไม่ปฏิบัติ ตามคําแนะนํา ยังจัดทําภาษีที่ไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่อาจจะเปลี่ยนจากเครื่องมือแนะนําไปเป็นเครื่องมือการวิเคราะห์ การตรวจปฏิบัติการ การออกหมายเรียก การเรียกพยาน หรือเรียก Bank Statement อย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นได้

 

การตรวจแนะนําจะเป็นมาตรการที่เบาที่สุด เป็นการแนะนําผู้ประกอบการให้ทําบัญชีให้ถูกต้อง และ สรรพากรก็จะคอยติดตามว่า ผู้ประกอบการรายนั้นให้ความร่วมมือตามที่แนะนําไปหรือไม่ สําหรับรายที่ไม่ให้ความ ร่วมมือเจ้าหน้าที่ก็จะเปลี่ยนเป็นวิธีที่รุนแรงมากขึ้น มิติใหม่ในการออกตรวจแนะนําก็คือ ต่อไปนี้ สรรพากรจะออกตรวจแนะนําโดยประสานกับสํานักงานบัญชีที่ทํางานให้ผู้ประกอบการรายนั้นๆ ให้ไปร่วมรับฟัง และแจ้งให้ทราบว่า สรรพากรจะไปตรวจแนะนําอะไร นั่นหมายความว่าจากนี้ไปสรรพากรรู้อะไรสํานักงานบัญชีจะได้รู้อย่างนั้น เพื่อให้สํานักงานบัญชีเข้าใจตรงกันกับสรรพากร จะได้จัดการปิดความเสียงให้ผู้ประกอบการก่อนที่จะถูกตรวจสอบ

 

ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีได้หลายแง่มุม เช่น ถ้าพบว่าผู้รับทําบัญชีรายนี้ เมื่อจัดทําบัญชีให้ผู้ประกอบการ ที่เป็นลูกค้าเคยถูกตรวจสอบ แล้วมักจะพบความผิดประเด็น และถ้าเกิดขึ้นกับลูกค้าซ้ําๆ กันหลายๆ ราย ข้อมูล ก็จะถูกรวบรวมทั้งหมดว่า “นาย ก. ในฐานะสํานักงานบัญชีนี้มีความเสี่ยงในการปฏิบัติงานและลูกค้าที่ใช้บริการ ของนาย ก. ก็มีความเสี่ยงมากที่จะถูกตรวจสอบ เป็นต้น

เพื่อให้รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เราควรจะทราบว่า ข้อมูลที่นํามาใช้ในการวิเคราะห์ มีอะไรบ้าง เขาแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

• ข้อมูลการยื่นภาษีของบริษัทผ่านระบบสรรพากร อันได้แก่ ภง.ด.50 ภ.พ.30 ภ.ง.ด.3 ภ.ง.ด.53 ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.2

• ข้อมูลของบริษัทที่มีในบันทึกของหน่วยงานภายนอก เช่น ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต การไฟฟ้า การประปา ข้อมูลของโรงงานอุตสาหกรรม

• ข้อมูลของบริษัทจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลังไปในอดีต 3-5 ปี

• ข้อมูลสนับสนุนการบริหารจัดเก็บภาษี

 

การประมวลผลคัดเลือกผู้เสียภาษี จะขึ้นอยู่กับสํานักงานสรรพากรภาค สํานักงานสรรพากรพื้นที่ก็จะดึงข้อมูลออกมา เช่น ถ้าเกณฑ์ความเสี่ยงสูง คะแนนความเสี่ยงก็จะสูง และมีความเสี่ยงที่จะโดนสรรพากรตรวจสูง หลังจากนั้นหน่วยปฏิบัติจะเลือกตามเกณฑ์ความเสี่ยง เช่น รายได้ในแบบ ภ.พ.30 มีความนิ่งตลอดเวลา ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้เป็นเกณฑ์ความเสี่ยงอีกเกณฑ์หนึ่ง เกณฑ์ความเสี่ยงมีทั้งหมด 132 เกณฑ์ และ 132 เกณฑ์ หน่วยปฏิบัติก็จะดูว่าพื้นที่เขามีเกณฑ์ไหนที่เป็นเกณฑ์ที่มีปัจจัยความเสี่ยงสูงที่สุด สรรพากรก็จะรันคะแนนของผู้ประกอบการ หลังจากนั้นหน่วยปฏิบัติก็จะทําการเลือกรายที่สุ่มตรวจ ซึ่งเขาไม่ได้เลือกตามรายเกณฑ์ความเสี่ยง แต่เขาเลือกตามสถานะก็ได้ เช่น เป็นผู้ประกอบการที่ถูกสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชีที่มีการรับงานตรวจสอบมากจนน่าสงสัยว่ามี การตรวจสอบแบบมืออาชีพหรือไม่ และเครื่องก็จะประมวลผลออกมาและสรรพากรพื้นที่ก็จะส่งให้กับหน่วยปฏิบัติ และหน่วยปฏิบัติก็จะวิเคราะห์งบของท่านแล้วเลือกใช้เครื่องมือตามเกณฑ์ความเสี่ยงที่ท่านเจอ

 

ที่เล่าสู่กันฟังมานี้ก็เพื่อให้ได้เตรียมตัวปรับตัวกันเพราะนอกจากมาตรการการตรวจสอบของกรมสรรพากรจะ เข้มข้นขึ้นมากๆ แล้ว รัฐยังมีมาตรการอื่นๆ ที่จะช่วยปรับให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษีที่ถูกต้อง จากหน่วยงาน อื่นๆ เช่น

• ตั้งแต่ 1 กันยายน 2560 ที่ผ่านมาผู้ประกอบการมีการใช้ใบกํากับภาษีปลอม หรือ ออกใบกํากับภาษีปลอม แม้จะพบเพียง 1 ใบ สรรพากรจะดําเนินคดีอาญาทันที

* การหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษีอากร ตั้งแต่ 10 ล้านบาทต่อปีภาษีหรือการขอคืนภาษีอากรโดยความเท็จ ตั้งแต่ 2 ล้านบาทต่อปีภาษี จะถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. ฟอกเงิน อาจจะถูกอายัดทรัพย์ได้

+ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 แบงก์ชาติกําหนดให้การพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงิน ต้องใช้งบการเงินที่ผู้ประกอบการใช้ยืนต่อกรมสรรพากรเท่านั้น

 

ดังนั้น ท่านคงเห็นด้วยว่า การทําบัญชีชุดเดียวและเสียภาษีอย่างถูกต้องโดยอาศัยการวางแผนภาษี ดูเหมือนจะเป็นหนทางเดียวที่ปลอดภัย หลับสบาย คลายเครียดมากที่สุด

bottom of page